airrii

airrii

ผู้เยี่ยมชม

bontojennie@gmail.com

  ทำประกันแบบไหน ช่วยลดหย่อนภาษีได้ (22 อ่าน)

7 ต.ค. 2567 13:50




ทำประกันทั้งทีถ้าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย ก็เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะได้ทั้งความคุ้มครอง และยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่หลายๆ คนคงกำลังจัดระเบียบการใช้จ่ายของตัวเองและเตรียมเอกสารต่างๆ สำหรับเทศกาลลดหย่อนภาษีปลายปีที่ใกล้เข้ามา แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะต้องซื้อประกันประเภทไหนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ และจะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเท่าไหร่ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาไว้ให้แล้ว

ประเภทของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้
1.ประกันชีวิต
ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้
ประกันที่เน้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ทำประกัน ในกรณีที่เสียชีวิตจากเหตุไม่คาดคิดก็จะได้รับเงินชดเชยตามวงเงินคุ้มครอง มีหลายรูปแบบ เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และ ประกันชีวิตควบการลงทุน

โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง หรือหากจะนับรวมเงินฝากแบบมีประกันด้วยก็ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และใครที่มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ซึ่งไม่ได้เพิ่งสมรสภายในปีนี้ ก็สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เช่นเดียวกัน

เงื่อนไขการนำประกันชีวิตทั่วไปมาลดหย่อนภาษี
- ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

- จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย

- หากมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินชดเชย จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

- ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้
ประกันที่ให้ความคุ้มครองรายได้หลังเกษียณ จะเน้นที่ผลตอบแทนเป็นหลัก เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในยามที่คุณเลิกประกอบอาชีพแล้วนั่นเอง


โดยประกันในรูปแบบนี้จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ (เงินได้ที่ต้องเสียภาษี) สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท หรืออาจลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กบข. และ กองทุนการออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

นั่นหมายความว่าหากคุณยังใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ไม่ถึงเพดานสูงสุด 100,000 บาท คุณสามารถนำเบี้ยประกันบำนาญบางส่วนไปหักลบจนครบ 100,000 บาท ก่อนจะนำมาคำนวณหักลบกับ 15% ของรายได้ เป็นส่วนที่สองเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญคือ

- ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

- จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย

- จ่ายผลประโยชน์เป็นงวดจำนวนเงินเท่ากัน หรือในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

- ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันครบถ้วนก่อนที่จะได้รับผลประโยชน์

- กำหนดช่วงอายุการจ่ายผลประโยชน์ตั้งแต่ 55 - 85 ปี

- ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี



2.ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนภาษีได้
รูปแบบประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ คือประกันที่คุ้มครองอาการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ มีการชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ, ประกันอุบัติเหตุเฉพาะ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก, ประกันโรคร้าย และ ประกันการดูแลระยะยาว

โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพตนเองคือ
- จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย

- ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี
ประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้
ในกรณีที่คุณจ่ายเบี้ยประกันให้กับพ่อแม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนในจำนวนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ได้เช่นกัน หรือหากมีการร่วมกันจ่ายกับพี่น้อง ก็สามารถนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนพี่น้องได้เช่นกัน

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพของพ่อแม่คือ

- ต้องมีความสัมพันธ์เป็นลูกแท้ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

- ในกรณีลูกบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

- พ่อแม่มีรายได้ต่อปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท

- ตัวผู้ลดหย่อนหรือพ่อแม่ต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันภายในปีภาษี

การมีประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้จะช่วยให้คุณสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะกับมนุษย์เงินเดือนและผู้ที่มีรายได้ประจำ ก็ควรมองหาตัวเลือกที่สามารถทำให้คุณมีทั้งความคุ้มครองด้านสุขภาพ และสิทธิในการลดหย่อนภาษี ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี

171.103.162.34

airrii

airrii

ผู้เยี่ยมชม

bontojennie@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com