ปฐมอุบาสก และ บาตรใบแรก

Last updated: 9 มี.ค. 2564  |  1251 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปฐมอุบาสก และ บาตรใบแรก

 
มีตำนานได้เล่าขานไว้ว่าสองพี่น้อง ตปุสสะ และ ภัลลิกะ เป็นคนเชื้อชาติมอญมาจากเมืองย่างกุ้ง ณ.กรุงหงสาวดี
 
 
 
 
 
 
สัตตุผงนั้นบาลีเรียกว่า “มันถะ” คือข้าวตากที่ตำละเอียด สัตตุก้อน บาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ” คือข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อน
 
 
 
 
ต้นราชยาตนะ หรือ ต้นเกด
 
 
 
 
เสวยวิมุตติสุข คือการพบสุขที่เกิดเพราะความหลุดพ้น จากกิเลส ในระหว่างที่พุทธองค์ทรงเสวยวิมุติสุขนั้นจึงมิต้องเสวยพระกระยาหารใดๆ ตลอด 49 วัน  ทรงประทับในสถานที่ต่างๆ 7 แห่ง คือ
สัปดาห์ที่ 1 : ทรงนั่งสมาธิที่ วัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ 7 วัน
สัปดาห์ที 2 : ทรงยืนมอง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 วัน ที่ อนิมิสเจดีย์ บริเวณทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์
สัปดาห์ที่ 3 : เสด็จมาเดินจงกรมอยู่ระหว่างอนิมิสเจดีย์กับต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน
สัปดาห์ที่ 4 : เสด็จนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎกในเรือนแก้วที่เทวดาเสกขึ้นมาทางทิศเหนือของต้นศรีมหาโพธิ์ สถานที่นี้เรียกว่ารัตนฆรเจดีย์
สัปดาห์ที่ 5 : เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยังต้นไทรอชปาลนิโครธ ในขณะที่ประทับได้มี ธิดาพญามาร 3 ตนคือ ราคะ อรตี และตัณหาได้อาสาพ่อเข้าไปประเล้าประโลมด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆ พระองค์ทรงขับไล่ไป แสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว ไม่ยอมเป็นผู้แพ้อีก
สัปดาห์ที่ 6 : ทรงเสด็จเสวยวิมุตติสุขที่สระมุจลินท์ ( มุจลินท์เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ไม้จิก ) ในตอนนั้นเกิดฝนตกหนักเจือด้วยลมหนาว ฝนตกพรำอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน พญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระนี้ขึ้นมาขดตัวเจ็ดรอบแลแผ่พังพานเพื่อจะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระวรกาย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธรูปางนาคปรก
 สัปดาห์ที่ 7 : เสด็จประทับที่ร่มต้นไม้เกตนี้ เป็นสัปดาห์สุดท้ายหลังจากตรัสรู้
 
 
ท้าวสักกะหรือ ที่เรียกกันว่า สักกเทวราช ในวัฒนธรรมของชาวเอเชียตะวันออกนั้นมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ไทชะกุเทน 帝釈天 ในภาษาญี่ปุ่น ตี้ซือเทียน 帝釋天 หรือ ซือถีหวันอิน 釋提桓因 ในภาษาจีน บางครั้งคนจีนมีการเปรียบเทียบเท้าสักกะว่าคือเง็กเซียนฮ่องเต้ 玉皇大帝 หรือ จักพรรดิ์หยกในลัทธิเต๋า ในตำราฤคเวท อันเป็นวรรณคดีในภาษาสันสกฤตของศาสนาฮินดูคำว่า “ ศักกระ “ อันเป็นนามของท้าวสักกะ ใช้แทนตัวเทพอินทระ หรือ พระอินท์บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกของท้าวสักกะจะแตกต่างจากพระอินท์โดนสิ้นเชิง และท้าวสักกะเทวราชยังเป็นผู้ที่บรรเลงพินสามสายเพื่อเตือนสติให้เจ้าชายสิทธัตถะเลิกกระทำการบำเพ็ญทุกข์และค้นพบทางสายกลางจนตรัสรู้นั่นเอง
 
 
 
บาตรดินอันเป็นทิพย์ของพระพุทธเจ้าที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายพร้อมทั้งจีวร เมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวชอยู่ข้างกายพุทธองค์มาตลอด ได้บังเกิดหายไปในตอนจะรับข้าวมธุปายาส  จากนางสุชาดา  คือ ช่วงเวลาก่อนตรัสรู้ได้หนึ่งวัน ข้าวมธุปายาสของนาสุชาดา ถือเป็น ภัตตาหารมื้อแรก ก่อนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ พุทธองค์ทรงปั้นข้าวมธุปายาสเป็นปั้นๆได้ทั้งหมด 49 ก้อน แล้วเสวยจนหมด ซึ่งถือเป็นอาหารทิพย์อันจะคุ้มครองร่างกายได้ถึง 49 วันในการเสวยวิมุตติหลังการตรัสรู้
 
 
 
ท้าวมหาราชทั้ง 4 คือ เทวราชาผู้เป็นใหญ่ในโลกสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา โดยจะแบ่งเป็นเขตการปกครองดังนี้
1.ท้าววธตรฐ ปกปักษ์รักษาด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์
2.ท้าววิรุฬหก ปกปักษ์รักษาทางด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองครุฑ มีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร
3.ท้าววิรูปักษ์ ปกปักษ์รักษาทางด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
4.ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ปกปักษ์รักษาทางด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์
 
 
 
 
 
 
การผสานบาตรครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของบาตรพระใบแรกในพุทธศาสนา โดยการสร้างบาตรพระแต่โบราณรวมถึงบาตรพระทำมือในปัจจุบันยังมีบางส่วนของขั้นตอนในการสร้าง ที่จะนำแผ่นเหล็กมาตัดให้เป็นลักษณะฟันปลาก่อนที่จะประกบเข้าด้วยกัน แล้วจากนั้นจึงเชื่อมต่อเหล็กทั้งสองแผ่นเพื่อเป็นการระลึกถึงบาตรใบแรกของพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาจากการประสานบาตรนั่นเอง และ ยังเป็นต้นกำเหนิดของพระพุทธรูปปางประสานบาตรอีกด้วย กล่าวกันว่า ก่อนที่่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน 3 เดือน พระองค์ได้ประธานบาตรใบนี้เป็นที่ระลึกให้แก่ชาวเมืองไวสาลี หลังจากพระพุทธเจ้าท่านได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วเชื่อกันว่า ชาวเมืองไวสาลีนำโดยเจ้าลิจฉวีได้สร้างสถูปขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับพระพุทธเจ้า พร้อมกันนี้ยังได้ประดิษฐานบาตรที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้ เก็บรับษาไว้ในสถูปแแห่งนี้ และตั้งนามของสถูปนี้ว่า “ เกสรียะสถูป ” 
 
 
  
 
 
ในเวลานั้นพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้เพียง 49 วัน จึงยังไม่มีสานุศิษย์ที่เป็นพระสงฆ์ถือกำเหนิดขึ้นในเวลานั้นสรณะจึงมีเพียง 2 คือ พระพุทธ และ พระธรรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 

Powered by MakeWebEasy.com